ขอเชิญชวนบุคลากรทางการศึกษา นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัย และอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วารสารหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Journal of Curriculum and Instruction, Chiang Mai University) เป็นวารสารวิชาการระดับชาติ ของสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิมพ์เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่อันเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการด้านหลักสูตรและการสอนในยุคสมัยแห่งการปฏิรูปการเรียนรู้ของนักวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
วารสารหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ ที่มีสาระเกี่ยวกับงานด้านออกแบบและพัฒนาหลักสูตร นวัตกรรมหลักสูตร การประเมินหลักสูตร การวิเคราะห์หลักสูตร การวิพากษ์หลักสูตร การประกันคุณภาพหลักสูตรและการสอน ปรัชญาการศึกษากับการพัฒนาหลักสูตร การศึกษาสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับงานด้านหลักสูตรและการสอนในแต่ละบริบท การบริหารและการนิเทศหลักสูตรและการสอน นโยบายงานด้านหลักสูตรและการสอน การออกแบบการสอนทุกระดับการศึกษาและทุกประเภททั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และศึกษาตามอัธยาศัย การพัฒนาแนวคิด ระบบ หลักการ รูปแบบ เทคนิค และวิธีการในการจัดการเรียนการสอน การประเมินการจัดการเรียนรู้ พฤติกรรมการสอน พฤติกรรมการเรียนรู้ จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรและการสอน เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการสอน แหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านหลักสูตรและการสอน
ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม
1ผลการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับแอนิเมชันทีพีอาร์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสาร และสมรรถนะการจัดการตนเองในวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Effect of Using Role Play Activity with TPR Animation to Enhance Communication and Self-Management Competencies in English Subject for Grade 7 Students ณัฐวัฒน์ บุญอาจ นทัต อัศภาภรณ์ และศักดา สวาทะนันท์2การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานในหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเชียงใหม่สมาร์ทซิตี้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมและทักษะการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Using Phenomenon-Based Learning Provision in Chiang Mai Smart City Integrated Learning Unit to Enhance Teamwork and Collaboration Competency, and Systematic Thinking Skill of Grade 2 Students จิราวัฒน์ จันทร์วิเศษ สมเกียรติ อินทสิงห์ และศักดา สวาทะนันท์3ผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นฐานสมรรถนะวิถีแม่แตงที่มีต่อสมรรถนะการสื่อสารและสมรรถนะด้านอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Effects of Using Competency-Based Local Curriculum Mae Taeng Path on Communication and Occupational Competencies of Grade 7 Students พัชราภรณ์ คำโพธิ์,สมเกียรติ อินทสิงห์ และศักดา สวาทะนันท์4การใช้กิจกรรมศิลปะที่เน้นกระบวนการในการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ สำหรับเด็กปฐมวัย
Using the Process Art Activities to Develop the Executive Function for Early Childhood Students ณัฏฐภรณ์ นามวงค์ นทัต อัศภาภรณ์ และสมเกียรติ อินทสิงห์5การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโพกิล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Using POGIL Process to Enhance Sustainable Coexistence with Living in the Harmony of Nature and Science, and Teamwork and Collaboration Competency of Grade 6 Students ศิริมน จรัสสันติจิต ศักดา สวาทะนันท์ และนทัต อัศภาภรณ์6ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน ในการพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Effects of Using Activity-Based Learning Model to Develop Scientific Concepts and Teamwork Collaboration Competency for Grade 5 Students วรัญญา ต๋าใจ ศักดา สวาทะนันท์ และนทัต อัศภาภรณ์7การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้สหวิทยาการเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ เรื่อง มหัศจรรย์เมืองลำพูน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสาร และสมรรถนะการทำงานข้ามวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Development of Interdisciplinary Learning Units Connected to Spatial Identity on Topic of The Wonderful City of Lamphun to Enhance Communication Competency and Cross-Cultural Competency for Grade 1 students จันทรัศม์ สาวะจันทร์ นทัต อัศภาภรณ์ และศักดา สวาทะนันท์8การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการอัตลักษณ์เชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาไทยและสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง สำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Development of Integrated Learning Unit Using Spatial Identity to Enhance Thai Language Communication and Active Citizen Competencies for Grade 3 Students สุทธิกานต์ กิ่งก้ำ นทัต อัศภาภรณ์ และศักดา สวาทะนันท์9Mapping Standardized English Proficiency Test onto the Common European Framework of Reference (CEFR) Kwanhathai Choedchoo, Nutthaporn Owatnupat, and Sutsawad Jandum